วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน



การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

5. ไม่เป็นคนสะเพร่ามักง่าย เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง
6. ต้องมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างความปลอดภัยให้กับตนเองได้ อย่าปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม หรือโทษเรื่องของเคราะห์เมื่อเกิดเหตุร้ายกับตนเอง
7. จงยึดคำขวัญที่ว่าปลอดภัยไว้ก่อน
การสร้างเสริมความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะ
1. การใช้จักรยาน 1.1 ตรวจดูสภาพรถจักรยานว่ามีส่วนใดชำรุดหรือไม่
1.2 ขี่ชิดริมถนนด้านซ้ายและขี่ในทิศทางที่ถูกต้อง
1.3 เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
1.4 ไม่ประมาท
2. รถจักรยานยนต์และรถยนต์
2.1 ตรวจดูสภาพรถ
2.2 ขับขี่ชิดริมถนนด้านซ้าย
2.3 เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
2.4 สวมหมวกนิรภัย หากเป็นรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย
2.5 ไม่แข่งขันรถกันบนถนน
2.6 ไม่ประมาท
2.7 ไม่ขับขี่ขณะมึนเมา
การสร้างเสริมความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว
1. ศึกษาสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ และภูมิอากาศของสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยว ถ้าเห็นว่าอาจเกิดอันตรายได้ ก็ควรงดเว้นการเดินทาง
2. ควรเตรียมยา เครื่องเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางติดตัวไปด้วย
3. ไม่ดื่มสุรา หรือใช้ยาเสพติดในขณะท่องเที่ยว
4. การไปเที่ยวต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อมต่อลักษณะการไปเที่ยวในสถานที่นั้นๆ
5. ระมัดระวังพวกมิจฉาชีพ
การสร้างเสริมความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย
1. ภัยจากวัวหรือควาย ถ้านักเรียนถูกวัวหรือความวิ่งไล่ ควรรีบถอดเสื้อ หรือถ้ามีผ้าถือไว้ให้โยนทิ้ง วัวหรือควายจะหยุดดมของที่เราทิ้งไว้ หรือถ้าว่ายน้ำ
    เป็น ให้วิ่งลงน้ำ
2. ภัยจากสุนัข การเตรียมไม้เพื่อป้องกันตัวจากการถูกสุนัขกัดเป็นสิ่งที่ควรทำ
3. ภัยจากงู ควรหลีกเลี่ยงการเดินไปในที่มืด ที่รก หากมีความจำเป็นควรสวมร้องเท้าบูทแล้วใช้ไม้ตีต้นหญ้าหรือพุ่มไม้ไปตลอดทาง เพื่อให้งูเลื่อยหนีไป
การสร้างเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรม
1. การป้องกันการลักทรัพย์ในที่พักอาศัย
1.1 ก่อนออกจากบ้าน ควรมีคนที่ไว้ใจได้อยู่ดูแลที่พักอาศัย, ควรเปิดไฟบางห้องไว้
1.2 ก่อนเปิดประตูบ้าน ก่อนเปิดประตูบ้านรับแขก ควรดูให้ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด, ตรวจสอบบัตรประจำตัวช่างซ่อมหรือตัวแทนบริษัทต่างๆที่จะเข้ามาในบ้าน
1.3 นอนหลับตอนกลางคืน เมื่อพลบค่ำควรรูดม่านปิด ไม่ให้คนนอกมองเห็นด้านใน
1.4 ข้อควรปฏิบัติ ไม่ปล่อยให้ที่พักอาศัยมีต้นไม้สูง, ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน, ไม่ควรเก็บของมีค่าไว้ที่บ้าน , ถ้ามีโทรศัพท์ซักถามว่ามีคนอยู่บ้านไหม ให้ตอบว่าอยู่กันหลายคน, เมื่อเกิดเหตุร้ายไม่ควรพยายามจับผู้ร้ายด้วยตนเอง(โทร. 191)
2. การป้องกันการล่วงกระเป๋า 2.1 ไม่นำทรัพย์สินมีค่าพกติดตัวจำนวนมาก
2.2 พกกระเป๋าเงินไว้ในที่ปลอดภัย
2.3 กระเป๋าถือสตรี ควรถือกระชับมือไว้
2.4 พึงระลึกไว้ว่า คนร้ายเป็นได้ทุกเพศทุกวัย
2.5 หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มักเกิดเหตุร้าย
2.6 เมื่อถูกล่วงกระเป๋า ควรตะโกนขอความช่วยเหลือ
3. การป้องกันการถูกล่อลวงข่มขืน
3.1 อย่าแต่งตัวล่อแหลม
3.2 อย่าดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิด
3.3 อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้า




การเสริมสร้างทัศนคติความปลอดภัย


การส่งเสริมความปลอดภัย เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากถึงแม้ว่าองค์กรนั้นจะมีการออกแบบด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี หรือผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง หรือขั้นตอนปฏิบัติงาน (Task Procedure)  จะปลอดภัยและได้บังคับใช้อย่างต่อเนื่องก็ตาม  การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญยิ่ง เพราะการป้องกันอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความปลอดภัย  ผู้ปฏิบัติงานต้องอาศัยความคิดของตัวเองและต้องรักษาระเบียบวินัย เพื่อป้องกันตัวผู้ปฏิบัติงานเอง  พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานสามารถถูกกระตุ้นหรือบังคับให้เกิดได้ด้วยการส่งเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ

      แรงจูงใจภายใต้การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพ คือแนวคิดที่ว่าพฤติกรรมสามารถและควรจะเปลี่ยนแปลงได้  การส่งเสริมความปลอดภัยไม่ควรจะดำเนินการแต่เพียงผิวเผินด้วยการให้รางวัลที่ไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น  แต่การส่งเสริมความปลอดภัยควรจะถูกจัดการและมุ่งหวังผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ต้องการให้ได้  ระบบการส่งเสริมที่มั่นคง เฉพาะเจาะจง เข้มข้น และที่ได้วางแผนเป็นอย่างดี คือรากฐานภายใต้ความสำคัญที่ว่า

1. ความตระหนัก (Awareness)
      การตระหนักจะเป็นการกระตุ้นความสนใจในโปรแกรมความปลอดภัยด้วยการออกแบบให้เกิดความสนใจของบุคคลต่อโปรแกรมความปลอดภัยว่า คิดอะไร และจะทำอะไร  วัตถุประสงค์ของการตระหนักก็คือ การทำให้บุคคลจำนวนมากที่สุด คิดและพูดถึงความปลอดภัย

      กิจกรรมที่ให้เกิดการตระหนัก ควรจะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่มีอยู่และการสัมผัส (Exposure) ของแต่ละองค์กร และของแต่ละประเภทการปฏิบัติการ (Type of Operation) ทางเลือกของเครื่องมือและวิธีการในการส่งเสริมมีมากมายหลายแบบในราคาของการดำเนินการที่ต่ำ(ดูรูปที่1เป็นตัวอย่าง)การพิจารณารูปแบบจะขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท การสัมผัสที่เฉพาะเจาะจง (Specific Exposure)  ความสูญเสียที่เคยเกิดขึ้น และตัวผู้ปฏิบัติงาน เช่น ระดับความชำนาญ (Skill Level)  พื้นฐานด้านเทคนิค และระยะเวลาของประสบการณ์ในงานนั้น  องค์กรควรเลือกการส่งเสริมที่ตรงกับปัญหาวิกฤต (Critical Problems)  และตรงเป้าหมายของปัญหาเฉพาะของหน่วยงาน

      เป็นความเข้าใจผิดที่หน่วยงานมักคิดว่าการตระหนักคือโปรแกรมการส่งเสริมที่สำคัญที่สุด  ความจริงแล้วการตระหนักเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่ที่มีความยาว และต่อเนื่องกัน  การส่งเสริมการตระหนักจะต้องเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่อง  โดยที่อาจมีเวลาที่ชัดเจนเมื่อการตระหนักได้รับการกระตุ้นอย่างเพียงพอและมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ

      การเปลี่ยนแปลงความสนใจในความปลอดภัยไปสู่นิสัย (Habit) ของพฤติกรรมความปลอดภัยต้องการความพยายามอย่างต่อเนื่อง โดยที่มันจะเริ่มต้นจากการตระหนักจนกระทั่งบุคคลส่วนใหญ่พร้อมสำหรับระดับต่อไป คือการยอมรับ (Acceptance)

2. การยอมรับ (Acceptance)
      การยอมรับเริ่มต้นเมื่อผู้ปฏิบัติงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับโปรแกรมความปลอดภัย และโปรแกรมนี้ส่งผลต่อตัวเองอย่างชัดเจน  การชี้วัดผู้ปฏิบัติงานด้วยเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโปรแกรมความปลอดภัย จะนำผู้ปฏิบัติงานไปสู่ระดับต่อไปของความปลอดภัย

      การส่งเสริมความปลอดภัย  จะมีความน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อผู้บริหารแสดงพันธะสัญญา (Commitment) ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี    การแสดงพันธะสัญญาอาจกระทำด้วยนโยบายที่เด่นชัด โปรแกรมการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ  การฝึกอบรมเกี่ยวกับงานที่ทำ     ตลอดจนการค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุ และหลักฐานอื่นๆ ที่ปรากฏอย่างเด่นชัด จากการอุทิศตนของผู้บริหาร   ภาพที่ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นพันธะสัญญาของผู้บริหารจะมีผลเป็นอย่างสูงต่อพฤติกรรมผู้ปฏิบัติงาน ต่องาน และความตั้งใจที่จะเรียนรู้จากการส่งเสริมความปลอดภัย  กล่าวโดยสรุปก็คือ การสื่อข่าวสารความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ การใช้เทคนิค การส่งเสริมที่ประสบความสำเร็จ จะขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้ปฏิบัติงานต่อความสนใจจริงและการมีส่วนร่วมต่อความปลอดภัยของผู้บริหาร
3. การปฏิบัติ (Application)
     
 การปฏิบัติ คือ ระดับที่ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมต่อโปรแกรมความปลอดภัย  ด้วยการมีกิจกรรมและมีส่วนร่วมในทีมและคณะกรรมการความปลอดภัย (Safety teams and committees) และการนำเสนอความคิดเห็นของเขาผ่านระบบข้อเสนอแนะ  นี่คือระดับที่บุคคลเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Lean by doing) และได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในด้านความปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยมืออาชีพเชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนร่วมในโปรแกรมความปลอดภัยมีผลต่อสถิติความปลอดภัย  ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Attitude) และมีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจวิธีการที่พวกเขาได้รับจากการมีสติด้านความปลอดภัย (Safety Concious)

     
 การประกวด (Contest) ที่ต้องการให้บุคคลเรียนรู้ กระทำ หรือจดจำบางสิ่งสำหรับความปลอดภัย สามารถเป็นเครื่องมือส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพได้  การประกวดจะช่วยรักษาระดับความสนใจให้สูงตลอดเวลา และยังช่วยให้ทุกคนสนใจจริงต่อความวิกฤติ (Critical Areas) ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา  บทบาทของผู้นำสามารถกระทำได้หลายอย่างเพื่อให้การประกวดประสบความสำเร็จ เช่น

• ให้ข้อมูลที่ดีพอต่อลักษณะการประกวดและกฎที่เกี่ยวข้อง
• ให้และเก็บข้อมูล หรือวัสดุที่ต้องการตรงตามเวลา
• กระตุ้นบุคคลให้อ่านและมีส่วนร่วมต่อการประกวด
• ป้องกันการบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย
• สอบถามข้อเสนอแนะและความต้องการในการส่งเสริม
• นำความคิดของกลุ่มมาใช้ในการประกวด




4. การรับไว้สำหรับนิสัยใหม่ (Assimilation of New habit)
      การรับไว้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อทัศนคติความปลอดภัยติดแน่นในความรู้สึกนึกคิดของบุคคล มีคุณค่า และเกิดการปฏิบัติ ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากนิสัยของพฤติกรรมความปลอดภัย ในระดับนี้ถือว่างานส่งเสริมความปลอดภัยต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมประสบความสำเร็จและถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงการส่งเสริมในเรื่องใหม่


ความหมายและความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน


กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน หมายถึง ขั้นตอนหรือลำดับการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนได้ใช้กรอบแนวความคิดของโครงการที่เรียกว่า ชุมชนปลอดภัย (Safety community)” ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ใช้ต่อสู้กับปัญหาอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆทั่วโลก โดยมีหลักการดำเนินงานที่ มุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชุมชน เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและลดพฤติกรรมเสี่ยงระดับบุคคลเนื่องจากปัญหาความไม่ปลอดภัยเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจทำให้บุคคลเกิดการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตหรือสูญเสียทรัพย์สิน เช่น ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นทั้งจากการถูกปล้น ชิงทรัพย์ การทำร้ายร่างกาย การฆ่า การข่มขืน หรือปัญหาความไม่ปลอดภัยและความเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดของเยาวชน หรือปัญหาอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมประมาท ขาดความระมัดระวัง การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนจึงมีความสำคัญการลดปัญหาความไม่ปลอดภัยต่างๆ ดังกล่าว ทำให้คนในชุมชนมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากภัยอันตรายที่ส่งผลทำลายสุขภาพและชีวิต ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างเสริมความปลอดภัยที่ประกอบไปด้วยกระบวนการดำเนินงานที่เป็นลำดับขั้นตอน และอาศัยความร่วมมือของชุมชนเป็นพื้นฐาน ย่อมทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการจัดการเรื่องความปลอดภัยในชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตรงกับความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง เช่น กระบวนการทางประชาสังคมที่ใช้สร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน ที่นักเรียนได้ศึกษาในระดับชั้นเรียนที่ผ่านมานั้น ก็ถือว่าเป็นกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนวิธีหนึ่ง เพราะวิธีการที่ยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญในเรื่องของความร่วมมือกันของคนในชุมชนในการสร้างจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย จนเกิดการช่วยกันดูแลและป้องกันอันตรายต่างๆ ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
             
 ดังนั้น ทุกชุมชนควรสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนของตนเองให้เกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนให้มีสุขภาพดี ไม่ให้ได้รับอันตรายจากปัญหาความไม่ปลอดภัยต่างๆ โดยใช้กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ และยึดหลักการร่วมแรงร่วมใจกันของชุมชนเป็นพื้นฐาน


กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน


กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน เป็นความจำเป็นพื้นฐานด้านความปลอดภัยที่ควรดำเนินการในชุมชน เพราะความปลอดภัยเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนพึงมีพึงได้ โดยประชาชนมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยอย่างปลอดภัย มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและจัดการกับสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย มีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดคืออันตราย อะไรคือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บและความไม่ปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในแต่ละชุมชนอาจมีขั้นตอน ลำดับและรูปแบบของการดำเนินงาน หรือการจัดกิจกรรมสร้างเสริมความปลอดภัยที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกการดำเนินงานตามกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนนั้นจะต้องมีหลักการที่ไปในทิศทางเดียวกัน คือ มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางสุขภาพของบุคคลในชุมชนเป็นสำคัญ

โครงการร่วมใจต้านภัยยาเสพติด


หลักการดำเนินการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
ชุมชนปลอดภัย ต้องมีหลักการดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัย ดังนี้
             
 1. ชุมชนต้องดำเนินการป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ที่เกิดจากความสนใจหรือปัญหาของชุมชน เช่น การป้องกันภัยจากสารเสพติด การป้องกันภัยจากอัคคีภัย การป้องกันภัยจากโจรผู้ร้ายโดยอาจมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ สถาบันต่างๆ ในระดับชุมชน เพื่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง

  • จิตสำนึกใดที่ต้องใส่ใจ ต้องพิจารณา
  • (What the mind attends to, it considers)
  • จิตสำนึกใดที่ไม่ต้องใส่ใจ, ให้ยกเลิกไป
    (What the mind dose not attend to, it dismisses)
  • จิตสำนึกใดที่ใส่ใจกระทำอยู่เสมอ มันเป็นความเชื่อ
    (What the mind attends to regularly, it believes)
  • จิตสำนึกใดที่เป็นความเชื่อ มันจะแสดงออกที่การกระทำ
    (What the mind believes, it eventually does)
  • จิตสำนึกใดที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ มันจะกลายเป็นนิสัย
    (What the mind does regularly becomes habitual)
  • การดำเนินการส่งเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
การส่งเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมีมากมายหลายแบบ  โปรแกรมการส่งเสริมโดยทั่วไปจะมีระดับดังนี้
  • ความตระหนัก (Awareness)
  • การยอมรับ  (Acceptance)
  • การปฏิบัติ (Application) และ
2. ชุมชนต้องมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานหรือ องค์กรภายนอกชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัย และปัญหาการเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายต่างๆ
การร่วมมือระหว่างชุมชนกับองค์การนอกชุมชน

3. ชุมชนต้องมีระบบการเฝ้าระวังภัยอันตรายของชุมชน ที่จะนำไปสู่การประเมินขนาดของปัญหาสาเหตุของปัญหา และปัจจัยเสี่ยงของความไม่ปลอดภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น
4. ชุมชนต้องมีระบบการสำรวจความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชน และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการเกิดอันตราย เพื่อที่จะดำเนินการวางแผนแก้ไขต่อไป 5. ชุมชนต้องมีการต่อต้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนได้แก่ ต่อต้านผลิตภัณฑ์เสี่ยง และสิ่งแวดล้อมอันตราย เช่นของเล่นที่เป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก เครื่องสำอางที่หลอกลวงประชาชน การสร้างถนนในชุมชนโดยไม่มีทางเท้า หรือทางสำหรับคนเดินข้ามถนน การใช้สารเคมีหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อคนในชุมชน เป็นต้น รวมทั้งการต่อต้านพฤติกรรมการก่อให้เกิดอันตรายของบุคคล เช่น พฤติกรรมเมาแล้วขับ พฤติกรรมการเสพสารเสพติด พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาทางเพศ เป็นต้น6. ชุมชนต้องมีระบบการฝึกอบรมการสอน หรือเผยแพร่ความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชน ในเรื่องของการสร้างเสริมความปลอดภัย และการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายต่างๆ 
7. ชุมชนต้องมีระบบการเตรียมความพร้อมในการรับกับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน เช่น การเกิดอัคคีภัย การเกิดภัยธรรมชาติ โดยต้องมีการจัดระบบการอพยพผู้คนและแจ้งข่าวสาร มีการปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีประสิทธิภาพ


การจำลองเหตุไฟไหม้
8. ชุมชนต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานที่จัดขึ้นภายในชุมชนของตนเอง โดยกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม




9. ชุมชนต้องมีการรวบรวมความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานสร้างความปลอดภัยในชุมชนของตนเอง เผยแพร่สู่สังคมอื่นๆ เพื่อขยายผลในการสร้างเสริมความปลอดภัยในระดับประเทศชาติต่อไป

ตัวอย่างการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนส่งผลดีต่อประชาชนที่อาศัยในชุมชน ช่วยทำให้บุคคลมีสวัสดิภาพในการดำรงชีวิต ปราศจากการเจ็บป่วย และการได้รับอันตรายจากภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งนักเรียนสามารถนำตัวอย่างการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนต่อไปนี้ มาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชนตนเอง เพื่อการเป็นชุมชนที่ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีของทุกคน
1. กิจกรรมหรือโครงการด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ เช่น
  
- กิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในวันปีใหม่ เป็นโครงการกิจกรรมด้านความปลอดภัยของเครือข่ายชุมชนปลอดภัย ซวยสวนเงิน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนกับเด็กและคนในชุมชนในวันปีใหม่ และเพื่อสร้างความตระหนักในการขับขี่อย่างปลอดภัย มีแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ เช่นจัดป้ายรณรงค์เพื่อเผยแพร่วิธีการป้องกันอุบัติเหตุ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัยการจัดการแข่งขันตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ เป็นต้น
- โครงการจักรยานปลอดภัย สุขภาพสดใส เป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางการจราจร โดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่สนับสนุนให้เกิดกลไกการดำเนินงานในระดับชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการชุมชนให้ตระหนักถึงการป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการจราจรในเด็ก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และเพื่อสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยแก่เด็ก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีกลุ่มเป้าหมายและเครือข่ายเป็นเด็กในกรุงเทพมหานคร ชุมชนปลอดภัย 10 ชุมขน และโรงเรียนปลอดภัย 20 แห่ง มีแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างค่านิยมในการใช้รถจักยานและการขับขี่อย่างปลอดภัยในชุมชนเสริมสร้างให้มีมาตรฐานของการขับขี่และการใช้อุปกรณ์เสริมป้องกันการบาดเจ็บในการขับขี่รถจักรยานเป็นต้น


โครงการรงค์ณรงลดอุบัติเหตุ
              - โครงการเผยแพร่ความรู้เพื่อความปลอดภัยสู่ชุมชน เป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยของชมรมยุวชนบ้านตลาดเกรียบ อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหาอันตรายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชุมชน โดยกลุ่มชนรมเยาวชนของบ้านตลาดเกรียบได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนโดยมีวิธีการดำเนินการเผยแพร่ความรู้ผ่านการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของชุมชน เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนในเรื่องความปลอดภัย เช่น รณรงค์เมาไม่ขับ วิธีป้องกันการจมน้ำ และการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เรื่องการสวมหมวกนิรภัยอย่างปลอดภัย รวมทั้งการจัดป้ายเตือนภัยตามจุดอันตรายต่างๆ อีกทั้งประสานกับหน่วยงาน เช่น สายตรวจชุมชน ในการเตรียมแผนเฝ้าระวังภัยในช่วงเทศกาลวันปีใหม่



      2. กิจกรรมหรือโครงการด้านความปลอดภัยจากปัญหาอาชญากรรมและโจรผู้ร้าย 
        
 - โครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย เป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายในชุมชน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนช่วยกันดูแลและสอดส่องปัญหาความไม่ปลอดภัยในร่างกายและทรัพย์สินร่วมกัน โดยมีการรวมกลุ่มของเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกัน 3-4 หลังคาเรือน ผลัดกันดูแลบ้านและกำหนดจุดเตือนภัยที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม พร้อมกับแจ้งข้อมูลให้กับตำรวจในท้องที่ได้รับทราบ เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป

   
   3. กิจกรรมหรือโครงการด้านความปลอดภัยจากสารเสพติด เช่น
             
 - โครงการทูบีนัมเบอร์วัน (TO BE NUMBER ONE) เป็นโครงการในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด ให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนทั่วประเทศไทยมีความตระหนักถึงพิษภัยของสารเสพติดและปลูกฝังค่านิยมในการต่อต้านสารเสพติด โดยมีการดำเนินงานผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายใต้คำขวัญที่ว่า เป็นหนึ่ง โดยไม่พึ่งนาเสพติดเช่นจัดกิจกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของเยาวชนโดยการเล่นกีฬา เล่นดนตรี เต้นแอโรบิก และการทำกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้สังคมต่างๆ รวมทั้งมีการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดให้กลับคืนสู่สังคมภายใต้โครงการ ใครติดยายกมือขึ้น





การประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
              การประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนเป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานของกิจกรรมสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนที่ดำเนินการไปแล้วนั้น บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้คาดหวังไว้หรือไม่ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด และมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อจะได้นำไปพัฒนาการจัดกิจกรรมสร้างเสริมความปลอดภัยอื่นๆ ที่ดียิ่งขึ้นของชุมชนต่อไป ซึ่งกระบวนการประเมินผลจะต้องประกอบไปด้วย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำตรงกับความเป็นจริง โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อนำมาประเมินผล สามารถกระทำได้ทั้งในระหว่างดำเนินการและสิ้นสุดโครงการ ดังนี้               
1. การประเมินการสร้างเสริมความปลอดภัยก่อนการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินในช่วงระยะแรกของโครงการ เช่น การสำรวจความต้องการด้านความปลอดภัยของประชาชนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้านต่างๆ ทั้งเรื่องของเงินทุน เครื่องมือ เครื่องใช้ กำลังคนและเทคนิควิธี               2. การประเมินผลการสร้างเสริมความปลอดภัยระหว่างการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลในระหว่างที่มีการดำเนินโครงการไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผละแปลผลข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าโครงการได้ดำเนินไปตามกระบวนการขั้นตอนที่ว่างแผนไว้หรือไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือมีอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไข ให้โครงการได้ดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพจนสิ้นสุดโครงการ               3. การประเมินผลการสร้างเสริมความปลอดภัยหลังการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลที่กระทำเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานของโครงการแล้ว โดยมีการนำผลการศึกษาของการประเมินผลในขั้นต่างๆ ตั้งแต่การประเมินก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างการดำเนินโครงการ และหลักการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์และแปลผลร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการจัดทำโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยนั้นๆ บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้วางเป้าหมายไว้หรือไม่

การสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยในชุมชน
               การที่บุคคลจะเกิดพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่ถูกต้องได้นั้น บุคคลดังกล่าวควรต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของความปลอดภัย และมีทัศนคติที่ดี หรือมีความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยในด้านต่างๆ ซึ่งชุมชนสามารถสร้างความตระหนักในการระมัดระวังภัยอันตรายและการป้องกันความไม่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับคนของชุมชน ดังวิธีการต่อไปนี้
1. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันภัยอันตรายต่างๆ โดยการเผยแพร่ความรู้ผ่านกลุ่มคนในชุมชน เช่น ฝึกอบรมการป้องกันภัยจากโจรผู้ร้าย การฝึกซ้อมหนีไฟ และการปฐมพยาบาล การแจ้งเตือนถึงอันตรายของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหาและผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน จนก่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยของคนในชุมชนไปโดยอัตโนมัติ
2. การปลูกฝังทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัย คือ การตระหนักว่าความปลอดภัยมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ทำให้บุคคล ครอบครัว และชุมชนมีสุขภาพที่ดี และการไม่ระมัดระวัง ฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยต่างๆ ถือว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง วิธีการปลูกฝังทัศนคติด้านความปลอดภัยเช่น ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดความปลอดภัยในชุมชนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดการชักจูงโดยกลุ่มของชุมชนให้บุคคลเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย มีความตระหนักว่าความปลอดภัยของชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่ต้องมีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง 
การสร้างเสริมความปลอดภัยของชุมชนแห่งหนึ่ง

3. การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ชุมชนต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติและมีการสืบทอดพฤติกรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ จากรุ่นพ่อแม่สู่ลูกหลานสืบต่อไป จนเกิดเป็นวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ ขึ้นในชุมชน เช่นการขับขี่ตามกฎจราจร การหลีกเลี่ยงสารเสพติด การให้ความร่วมมือในการป้องกันภัยอันตรายของชุมชน เป็นต้น

หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัย
หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยแก่ประชาชนมีมากมายหลายหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานในสังกัดภาครัฐบาลและสังกัดภาคเอกชน
หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยที่สำคัญ มีดังนี้
 1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีภารกิจหลักในการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน และรักษาความสงบเรียบร้อยแก่สังคม นักเรียนสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ตามความเหมาะสม เช่น
     
- กองบังคับตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ในการตรวจและจัดการจราจร ควบคุมเหตุฉุกเฉิน สอบสวนเกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจร และตำรวจจราจรในสังกัดยังคอยทำหน้าที่ช่วยเหลือให้ความปลอดภัยและความสะดวกแก่ประชาชนที่ใช้รถ ใช้ถนน รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่พิเศษเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินด้วย
      
- กองบังคับการตำรวจทางหลวง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมกำกับดูแล รักษาทางหลวงแผ่นดิน อำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยในด้านการจราจรรวมทั้งทำหน้าที่ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเขตทางหลวง และคอยให้บริการช่วยเหลือผู้ใช้ทางและประชาชนทั่วไป
นอกจากหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวแล้ว นักเรียนสามารถร้องขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยอันตรายขึ้นกับตนเองหรือพบเห็นผู้ประสบเหตุคนอื่นๆ ได้ โดยติดต่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานีตำรวจใกล้บ้านหรือสถานีตำรวจภายในชุมชนของตนเองหรืออาจโทรศัพท์ที่หมายเลขฉุกเฉินต่อไปนี้ (1) แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย โทรศัพท์ 191 (2) แจ้งเหตุศูนย์การควบคุมการจราจร โทรศัพท์ 197 (3) แจ้งเหตุเพลิงไหม้ โทรศัพท์ 199 (4) แจ้งเหตุ จส.100 โทรศัพท์ 1137 และ (5) แจ้งเหตุการป่วยหรืออุบัติเหตุฉุกเฉินโดยการแจ้งผ่านไปที่หน่วยงานกูชีพนเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1669 หรือหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลวชิรพยาบาล โทรศัพท์ 1554 หรือศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ โทรศัพท์ 0-2255-1133 หรือมูลนิธีป่อเต็กตึ้ง โทรศัพท์ 0-2226-4444-8 หรือ มูลนิธิร่วมกตัญญูโทรศัพท์ 0-2249-6620 นอกจากนี้การแจ้งเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในเรื่องการบริโภคสามารถแจ้งไปยัง
สถานีตำรวจภูธรวังทอง


ที่ว่าการสถานีตำรวจ

2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีภารกิจหลักในการจัดทำแผนแม่บทวางมาตรการส่งเสริม สนับสนุนการป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูหลังเกิดภัย โดยกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย สร้างระบบป้องกัน เตือนภัยและฟื้นฟูหลังเกิดภัย รวมถึงติดตามประเมินผล เพื่อให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน นักเรียน และบุคคลทั่วไปที่ต้องการปรึกษา และขอความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยสามารถติดต่อได้ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โทรศัพท์ 0-2243-0020-27 หรือที่เว็บไซต์ http://www.disaster.go.th
 
3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรัฐบาลสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจที่สำคัญคือเสนอนโยบายและแผนการป้องกันอุบัติภัย เป็นศูนย์ประสานงานด้านวิชาการ สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยและสาธารณภัย และเป็นศูนย์กลางข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับอุบัติภัยรวมทั้งมีหน้าที่รณรงค์เผยแพร่งานป้องกันอุบัติภัยแก่ประชาชน นักเรียน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องความปลอดภัยต่างๆ สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์ http://www.safety.thaigov.net
คุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชน
     การสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนต้องทำอย่างเป็นกระบวนการ คือ มีการ
วางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล ซึ่งจะให้คุณค่าต่อตนเองและต่อคนใน
ชุมชน ดังนี้

1. ส่งเสริมสุขภาพกาย เมื่อมนุษย์มีความปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ เพราะไม่มี
อันตรายเกิดขึ้น ก็จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี เมื่อมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ชุมชนก็จะเข้มแข็ง
เพราะคนในชุมชนมีสุขภาพดี

 2. ส่งเสริมสุขภาพจิต เมื่อชุมชนมีความปลอดภัย ไม่มีโจรผู้ร้าย คนขายยาบ้า 
หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนก็มีความสุข นั่นคือ มีสุขภาพ
จิตที่ดี

 3. ส่งเสริมเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีการเจ็บป่วย ไม่มีโจรผู้ร้าย ก็จะทำให้ไม่ต้องเสีย
เงินค่ารักษาพยาบาล และไม่ถูกโจรผู้ร้ายโจรกรรมหรือปล้น เงินทองไม่รั่วไหล ก็จะทำให้
เศรษฐกิจของตนเองและครอบครัวดี และมีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต

 4. สังคมเข้มแข็ง เมื่อชุมชนมีความปลอดภัย คนในชุมชนมีสุขภาพดี ย่อมทำให้
ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง นั่นคือ สังคมก็เข้มแข็งไปด้วย เป็นชุมชนที่น่าอยู่อาศัยสำหรับ
ทุกคน

การส่งเสริมสุขภาพของชุมชนแห่งหนึ่ง
2. กลวิธีในการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ

ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ คือ การปฏิบัติที่อาจนำไปสู่การเกิดอันตรายต่อชีวิตและ
สุขภาพของตนเองและผู้อื่น เช่น การขับรถเร็ว การรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ การสำส่อน
ทางเพศ การมีน้ำหนักตัวเกิน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การใช้ยา
และสารเสพติด ซึ่งมีกลวิธีในการป้องกันและหลีกเลี่ยง ดังต่อไปนี้

2.1 กระบวนการคิด

 ความผิดอาญาฐานพรากเด็ก 
ลักษณะความผิดและการดำเนินการ 
       เด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงสิบห้าปี ที่หายไปเนื่องจากถูกบุคคลอื่นพาไปจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแล โดยไม่มีเหตุอันสมควร  การกระทำเช่นนั้น ถือว่าเป็นความผิดฐาน พรากเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 
       ในกรณีดังกล่าว  ทางครอบครัวควรสืบหาข้อมูลของผู้ที่พรากเด็กไปในเบื้องต้นก่อน  เพื่อยืนยันว่ามีการพรากเด็กไปจริง  จากนั้นจึงไปดำเนินการแจ้งความอาญาในความผิดฐานพรากเด็ก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317  ซึ่งมิใช่การแจ้งความคนหายธรรมดา  ทั้งนี้  เพื่อให้เกิดผลในรูปคดีในการออกหมายเรียกผู้ต้องสงสัยมาสอบปากคำและเกิดกระบวนการติดตามในทางคดีที่มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น 

คดีพรากผู้เยาว์และกระทำชำเราหญิงที่มีอายุไม่ถึง 15 ปี
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์
ลักษณะความผิดและการดำเนินการ    
      ผู้เยาว์อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ที่หายไปเนื่องจากถูกบุคคลอื่นพาไปจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดูแล ไม่ว่าผู้เยาว์นั้นจะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตามการกระทำเช่นนั้น ถือว่าเป็นความผิดฐาน พรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318-319 
      ในกรณีดังกล่าว  ทางครอบครัวควรสืบหาข้อมูลของผู้ที่พรากผู้เยาว์ไปในเบื้องต้นก่อน  เพื่อยืนยันว่ามีการพรากผู้เยาว์ไปจริง  จากนั้นจึงไปดำเนินการแจ้งความอาญาในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา318-319  ซึ่งมิใช่การแจ้งความคนหายธรรมดา  ทั้งนี้  เพื่อให้เกิดผลในรูปคดีในการออกหมายเรียกผู้ต้องสงสัยมาสอบปากคำและเกิดกระบวนการติดตามในทางคดีที่มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น 

ข้อสังเกตในการแจ้งความเด็กหายในกรณีการกระทำความผิดฐานพรากเด็ก/พรากผู้เยาว์
1. ครอบครัวเด็กที่หายไปจะต้องหาข้อมูลของผู้ต้องสงสัยที่พรากเด็กหรือผู้เยาว์ไปในเบื้องต้น  เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงว่าได้มีการกระทำความผิดโดยการพรากเด็กหรือผู้เยาว์ไปจริง 
2. การแจ้งความที่สถานีตำรวจ  มิใช่การแจ้งความเรื่องเด็กหายธรรมดา  แต่การแจ้งความดังกล่าว ต้องระบุว่าประสงค์จะดำเนินคดีในฐานความผิดพรากเด็ก/ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 - 319 โดยต้องการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ 
3. ต้องนำบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวไปยืนยันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับแจ้งความด้วยในฐานะพยาน  ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นที่รู้เห็นพฤติกรรมซึ่งเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ 
4.ควรสอบถามและติดตาม ผลของการดำเนินคดี  โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกหมายเรียก ผู้ต้องสงสัยมาสอบปากคำ  การเรียกสอบปากคำพยานเพิ่มเติม และการออกหมายจับผู้ต้องหา 

5.เมื่อทางครอบครัวทราบข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม ต้องรีบแจ้งให้พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีทราบทันที  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน


แจ้งความทรัพย์สินหาย
หลักฐานต่าง ๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ  คือ 
- ใบเสร็จรับเงินซื้อขายหรือหลักฐานแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น 
- รูปพรรณทรัพย์สินนั้น  (ถ้ามี) 
- ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่าง ๆ 
- เอกสารสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น ๆ (ถ้ามี) 

- ในกรณีหลักทรัพย์ในบ้านเรือนหรือสำนักงาน ให้รักษาร่องรอยในที่เกิดเหตุไว้  อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องเคลื่อนย้ายสิ่งของในที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่จะไปถึง
ผู้ต้องหาลักทรัพย์จับได้พร้อมของกลางจำนวนมาก
แจ้งความรถหรือเรือหาย
หลักฐานต่าง ๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่  คือ 
- ใบทะเบียนรถยนต์  รถจักรยานยนต์  เรือหรือพาหนะอื่น ๆ ที่หาย
 
- ใบสำคัญรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
 
- ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน  บริษัท  ไปแจ้งความ  ควรถือหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการบริษัทนั้น ๆ ไป  รวมทั้งหนังสือรับรองจากบริษัทด้วย
 
- หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)
 

- หนังสือคู่มือประจำรถที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ  ถ้าไม่มีให้จดยี่ห้อรถ  สี  และหมายเลขเครื่อง  และตัวรถไปด้วย  (ถ้าจำได้)

ภาพจำลองการลักรถยนต์

แจ้งความคดีฉ้อโกงทรัพย์

หลักฐานต่าง ๆ  ควรนำมา  คือ 
- หนังสือหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง 
- หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ 
หนังสือหรือหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของทรัพย์


การจดจำตำหนิ รูปพรรณบุคคลหรือยาพาหนะของคนร้าย
คำแนะนำการจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล และยานพาหนะของคนร้าย
การก่อ อาชญากรรม การก่อการร้าย ถือได้ว่า เป็นผลของการกระทำของ 
บุคคล ทั้งสิ้น ต้องมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง ในแง่ของ ผู้กระทำ 
ดังที่เราเรียกกันว่า"คนร้าย" หรือ "ผู้ร้าย" ประกอบกับ การวิวัฒนาการทาง เทคโนโลยี 
ปัจจุบันได้ เจริญก้าวหน้า ไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ คนร้าย มักจะใช้ ยานพาหนะ ต่าง 
ๆ เพื่อการหลบหนี อย่างรวดเร็ว พาหนะที่ใช้ เช่น รถยนต์, รถจักรยานยนต์ ฯลฯ 
ในช่วงเวลาที่ คนร้าย ลงมือกระทำ ความผิด และหลบหนีนั้น คนร้าย ย่อมพยายาม 
จะใช้เวลา ให้รวดเร็วที่สุด เพื่อมิให้มีผู้ใด พบเห็น และเพื่อให้รอดพ้น 
จากการสืบสวน ติดตาม จับกุม ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานรักษาความปลอดภัย 
หรือประชาชน ทั้งหลาย ย่อมมีโอกาส ได้พบเห็น การกระทำความผิด ได้ง่ายกว่า 
เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนี้เนื่องจาก หากคนร้าย เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 
มักจะไม่กระทำความผิด 
ดังนั้น การที่ท่าน ได้มีโอกาสพบเห็น การกระทำผิด ดังกล่าวแล้วนั้น ถ้าท่าน 
ได้ถูกซักถาม ถึงเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ท่านอาจ จดจำ ได้เฉพาะ เหตุกว้าง ๆ เท่านั้น 
ส่วนในรายละเอียดอันสำคัญ เช่น รูปพรรณของคนร้าย การหลบหนีด้วยวิธีใด 
ท่านอาจจะตอบไม่ถูก 
ทั้งนี้เพราะท่าน อาจไม่สนใจมากนัก หรืออาจเนื่องจาก การที่ท่าน ยังไม่ทราบว่า 
หลักการ ที่จะสังเกตุ จดจำ รูปพรรณ คนร้าย ยานพาหนะ ที่ใช้หลบหนี เป็นอย่างไร 
และมีความสำคัญ อย่างไร จึงต้อง จดจำ สิ่งเหล่านั้น 
การจดจำ ตำหนิ รูปพรรณ ของคนร้าย ยานพาหนะ ของคนร้าย ได้ดีนั้น มีความสำคัญมาก 
ต่อการ สืบสวน จับกุม ผู้กระทำความผิด มาลงโทษ ทั้งนี้เนื่องจาก ถ้าท่าน สามารถ 
จดจำ รูปร่าง หน้าตา ตำหนิ รูปพรรณ ของคนร้าย และลักษณะรูปพรรณ คล้ายกับ 
ข้อมูลของท่าน หรือนำไปสเก็ตซ์ภาพ คนร้าย และประกาศสืบจับ โดยทั่วไป ส่วน ยานพาหนะ 
ที่ใช้นั้น ย่อมเป็นแนวทาง ในการสืบสวน ไปถึงตัว ผู้เป็นเจ้าของ 
และผู้ที่ใช้ยานพาหนะนั้น ซึ่งอาจ สันนิษฐาน ได้ว่าเป็นคนร้าย ที่ได้กระทำความผิด 
อันเป็นประโยชน์ ต่อสืบสวน การปฎิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นอย่างยิ่ง 
ผลงานของตำรวจ ที่ผ่านมา มีเป็นจำนวนมากที่ พลเมืองดี เช่นท่านทั้งหลาย 
ได้แสดงความสามารถ ในการสังเกต จดจำ ตำหนิ รูปพรรณ คนร้าย และยานพาหนะ 
ที่ใช้เป็นอย่างดี เป็นผลให้ ตำรวจ สามารถพิชิตคดี สำคัญ ๆ แล้วได้ตัว คนร้าย 
มาลงโทษในที่สุด 
ดังนั้น เพื่อเป็นการ ผนึกกำลัง ร่วมกัน ระหว่าง ประชาชน กับ ตำรวจ 
ในอันที่จะ ป้องกัน ปราบปราม อาชญากรรม การก่อความวุ่นวายต่าง ๆ พวกเรา ต้องช่วยกัน 
ทุกวิถีทาง ในอันที่จะ ป้องกัน มิให้เกิดเหตุ หรือหากเกิดขึ้น เราก็สามารถ 
จดจำข้อมูลของ คนร้าย และนำมาลงโทษได้ เพื่อรักษา ความสงบ เรียบร้อย 
และความปลอดภัย แก่สังคม หรือสถานที่ ที่ท่านดูแลรักษา ให้คงอยู่ตลอดไป
ในการนี้ จึงขอแนะนำวิธีการ จดจำ ตำหนิ รูปพรรณ คนร้าย ลักษณะ ยานพาหนะ 
ต่าง ๆ มาให้ท่าน ได้รับทราบ เพื่อเป็นแนวทาง ในการสังเกต จดจำ
 
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำหนิรูปพรรณ ของคนร้าย หากท่าน สามารถจดจำ รายละเอียดได้มาก
 
โอกาสที่ทางตำรวจ จะจับกุม คนร้าย ก็มีมากขึ้นด้วย
การให้รูปพรรณสัณฐาน ที่ถูกต้อง เป็นการช่วยเหลือ ตำรวจ ในการจับคนร้าย
ความสูง
 ผม (แบบ, สี) รูปหน้า องค์ประกอบ เสื้อ (แบบ, สี) ตำหนิอื่น ๆ เชื้อชาติ อายุ รอยสัก รูปร่าง แผลเป็น ชนิดอาวุธ ส่วนใดพิการ กางเกง (แบบ, สี)

การสังเกต จดจำ ตำหนิรูปพรรณ บุคคล หรือคนร้าย
1. หลักของสังเกตุ จดจำ ตำหนิรูปพรรณ มีดังนี้
1.1 สังเกต จดจำ สิ่งที่ใหญ่ เห็นได้ง่าย ไปสู่ สิ่งที่เล็ก เห็นยาก
1.2 สังเกต จดจำ ลักษณะเด่น ตำหนิ ไปสู่ ลักษณะ ปกติ ธรรมดา
1.3 พยายาม อย่าจดจำทุกสิ่ง ทุกอย่าง แต่ให้จดจำ บางสิ่งบางอย่าง ที่ท่านจดจำ
 
ได้อย่าง แม่นยำ
1.4 เมื่อคนร้าย หลบหนีไปแล้ว อย่าถามผู้อื่นว่า เห็นอะไร ให้รีบ บันทึก
 
ตำหนิรูปพรรณ ที่ท่านเห็น และ
จดจำได้ ลงในสมุด หรือกระดาษโดยทันที
 
1.5 มอบรายละเอียด ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
2. สิ่งที่สามารถ จดจำ ได้ง่าย และควร จดจำ ก่อน
2.1 เพศ เป็นชาย หญิง กะเทย
2.2 วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แก่ ฯลฯ อายุ ประมาณเท่าใด
2.3 รูปร่าง สูง เตี้ย อ้วน ผอม สันทัด ฯลฯ
2.4 ผิวเนื้อ ขาว ขาวเหลือง ดำ ซีด เหี่ยวย่น ฯลฯ
2.5 เชื้อชาติ ดูจากใบหน้า เป็นคนไทย จีนลูกครึ่ง แขก ฯลฯ
2.6 รูปหน้า รูปไข่ กลม ยาว เหลี่ยม ฯลฯ
2.7 ผม สั้น หงอก หนา หยิก ตัดทรงอะไร หวีอย่างไร ฯลฯ
2.8 ปาก กว้าง แคบ ใหญ่ ริมฝีปากหน้า ฯลฯ
2.9 หู กาง ใหญ่ เล็ก ติ่งหูแหลม ฯลฯ
2.10 ตา เล็ก โต พอง โปน ตาชั้นเดียว สองชั้น ตาเข สวมแว่นตา แว่นกันแดด ฯลฯ
3. สิ่งที่เป็น จุดเด่น ผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย
3.1 ตำหนิ แผลเป็น บนใบหน้า ไฝ ปาน หูด เนื้อติ่ง มีลักษณะอย่างไร
3.2 แผลเป็น มีลักษณะอย่างไร ขนาดเท่าใด อยู่ที่ส่วนไหน ของร่างกาย
3.3 ลายสัก สักรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ส่วนไหน ของร่างกาย
3.4 ความพิการ ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขนขาด้วน ลีบ ปากเบี้ยว ฯลฯ
3.5 ท่าทางการเดิน เดินตัวตรง ตัวเอียง ขากะเผลก
3.6 สำเนียงการพูด พูดช้า เร็ว ติดอ่าง สำเนียงเป็น คนไทย จีน ฝรั่ง หรือสำเนียง
 
คนภาคใด
3.7 การกระทำบ่อย ๆ สูบบุหรี่จัด พูดเอามือปิดปาก
 
ติดยาเสพติดเวลาพูดเอามือล้วงกระเป๋า
3.8 การแต่งกาย จดจำเสื้อ กางเกง เช่น แขนสั้น - ยาว, ขาสั้น - ยาว ฯลฯ
 
แบบของเสื้อ กางเกง เช่น
ยีน เสื้อยึด เสื้อเชิ้ต เครื่องแบบ นักศึกษา สีอะไร ลายแบบไหน
 
มีตัวเลขอะไร หรือไม่ รองเท้าที่สวม
เป็นชนิดใด สีอะไร แบบใด
3.9 เครื่องประดับ มีเครื่องประดับอะไรบ้าง ที่เห็นได้ชัด เช่น แว่นตา นาฬิกา
 
แหวน สร้อย กระเป๋าถือ
4. กรณีที่คนร้ายมีการพรางใบหน้า
เช่น สวมแว่นตากันแดด สวมหมวกกันน็อค สวมหมวก สวมหน้ากาก คลุมศีรษะด้วยถุง ฯลฯ
 
ก็ให้พยายาม จดจำ สิ่งที่ใช้พราง และจดจำส่วนอื่น ๆ ของร่างกายทิ่ได้พราง
 
และจดจำได้ง่าย ดังที่เคยได้กล่าวมาแล้ว
ถ้าท่านจำ รูปร่าง หน้าตา ตำหนิรูปพรรณ ของคนร้ายได้
จะทำให้ การสืบสวน หาตัวคนร้าย ง่ายยิ่งขึ้น
รูปร่างสูง, เตี้ย, ล่ำสัน, ใหญ่, เล็ก, อ้วนพุงพลุ้ย, อ้วนล่ำ, ผอมบาง,
 
สันทัด
ผิวเนื้อขาว, ขาวเหลือง, ดำ, ดำแดง, ซีด, เปล่งปลั่ง, เหี่ยวย่น, ตกกระ
รูปหน้ารูปไข่, กลม, ยาว, สี่เหลี่ยม, หน้าอูม, หน้ากระดูก
ศีรษะโต, เล็ก, กลม, ทุย, โหนก, เบี้ยว, หลิม, ล้านอย่างไร
ผมหงอก, หงอกประปราย, หนา, บาง, ดัด, หยิก, หยักโทรก, ย้อม, ตัดทรงอะไร,
 
หวีอย่างไร
ตาเล็ก, พอง, โต, โปน, ลึก, หรี่, ปรือ, ตาชั้นเดียว, สองชั้น, ตาเข, เหล่,
 
ถั่ว, ตี่, สายตาสั้น, ใส่แว่นสีอะไร
 
คิ้วดก, บาง, เรียว, โค้ง, ตรง, คิ้วต่อ, หางคิ้วชี้, หางคิ้วตก
จมูกเล็ก, ใหญ่, ยาว, สั้น, ดั้งจมูกราบ, ลึก, หัก, โด่ง, สันจมูกตรง, โค้ง,
 
งอน, เหลี่ยม, คด, ปลายจมูกแหลม, บาน, เชิด, งุ้ม
ปากกว้าง, แคบ, ใหญ่ เล็ก, กระจับ, ริมฝีปากหนา, บาง, บาน, ยื่น, ล่างยื่น
หูกาง, แนบ, ใหญ่, เล็ก, กลม, ยาว, ติ่งหูแหลม, ติ่งหูย้อย
ตำหนิไฝ, ปาน, หูด, เนื้อติ่ง, มีลักษณะอย่างไร, สีอะไร,
 
อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
แผลเป็นมีลักษณะอย่างไร, เกิดจากอะไร, ขนาดเท่าไร, อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
ลายสักสักเป็นรูปอะไร, สีอะไร, อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
พิการตาบอด, หูหนวก, ใบ้, แขน, ขาด้วน, ลีบ ฯลฯ
ท่าทางการเดินเดินตัวตรง, ตัวเอียง, แอ่นหน้า, ก้มหน้า, ขากะเผลก, เดินเร็ว,
 
เดินช้า
ลักษณะนิสัย อันเป็นเครื่องสังเกตพูดช้า, พูดเร็ว, ติดอ่าง, ลิ้นไก่สั้น,
 
สำเนียงแปร่งไปทาง ภาคอีสาน, ภาคเหนือ, ภาคใต้, พูดไม่ชัดสำเนียงแบบคนจีน,
 
แขก, ฝรั่ง ฯลฯ เวลาพูดเอามือปิดปาก, ออกท่าทาง, สูบบุหรี่จัด, ติดยาเสพติด,
 
สุรา, ยานัตถุ์
การแต่งกายเสื้อผ้าสีอะไร, แต่งแบบไหน, แบบนักศึกษา, กรรมกร, ชาวไร่, ชาวนา,
 
ชาวสวน, ข้าราชการ, นักธุรกิจ, เสื้อผ้าสะอาด เรียบ ยับยู่ยี่ ขาด ปะ
เครื่องประดับแต่งกายมีเครื่องประดับอะไรบ้าง เช่น นาฬิกาอะไร, แว่นตา, แหวน,
 
สายสร้อย, ไม้เท้า, ร่ม, กระเป๋าถือ ฯลฯ

การสังเกต จดจำ ยานพาหนะ ของคนร้าย หรือผู้ต้องสงสัย
1. มีหลักใหญ่ๆ ดังนี้ 
1.1 สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่ เห็นง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
 
1.2 สังเกตจดจำตำหนิ รอยชน สติกเกอร์ จุดเด่นต่าง
 
1.3 พยายามสังเกต อย่าจดจำ ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำ บางสิ่งที่ท่านจำได้
 
อย่างแม่นยำ
 

1.4 เมื่อคนร้าย ได้หลบหนีไปแล้ว อย่างถามผู้อื่นว่า เห็นอย่างไร ให้รีบบันทึก 
ลักษณะเอาไว้ทัน ที
 
1.5 มอบรายละเอียด ให้กับตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
 
2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่าย และควรจดจำก่อน
 
2.1 ประเภทรถจักรยานยนต์ รถเก๋งส่วนบุคคล รถยนต์แท็กซี่สาธารณะ รถบรรทุก
 
รถปิ๊กอัพ รถสามล้อเครื่อง รถจี๊ป ฯลฯ
 
2.2 สีของรถ เป็นรถสีใด บริเวณใด เป็นสีชนิดธรรมดา ลูไซท์ ฯลฯ
 
2.3 ความเก่า-ใหม่ เป็นรถค่อนข้างเก่าหรือใหม่
 
2.4 ยี่ห้อ เป็นรถยี่ห้อใด รุ่นปี พ.ศ. ใด (ต้องฝึกดู และจดจำ ยี่ห้อต่างๆ )
 
2.5 หมายเลขทะเบียน ดูได้จาก แผ่นป้ายทะเบียน ให้จดจำ ทั้งตัวอักษร และหมายเลข
 
ถ้าเป็นรถต่างจังหวัด ให้จดจำ ชื่อจังหวัด ไว้ด้วย
 
แผ่นป้ายทะเบียนรถ ประเภทต่างๆ จะแตก ต่างกันไป เช่น
 
รถเก๋งส่วนบุคคล แผ่นป้ายทะเบียน จะเป็นพื้นสีขาว ตัวเลขและตัวอักษร เป็นสีดำ
 
(เป็นป้ายของทางราชการ) ติดข้างหน้า-หลัง
 
รถแท็กซี่ แผ่นป้ายทะเบียน จะเป็นพื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ ติดทั้งข้างหน้า-หลัง
 
รถจักรยานยนต์ แผ่นป้ายทะเบียน จะเป็นพื้นสีขาว ตัวเลขตัวอักษรสีดำ ติดข้างหลัง
 
เพียงแผ่นเดียว
 
อนึ่ง ในการสังเกตุ แผ่นป้ายทะเบียน พยายามสังเกตุ ด้วยว่า
 
เป็นแผ่นป้ายที่ติดไว้อย่าง หลวม หรือติดอย่างแน่นหนา หรือมีการพรางเลขอักษร
 
ของแผ่นป้ายนั้นๆ หรือไม่ด้วยวิธีการใด (ปัจจุบัน คนร้าย มักใช้แผ่นป้าย
 
ทะเบียนปลอม หรือมีการพราง เลขหมายทะเบียน และตัวอักษร ให้ผิดไป จากความเป็นจริง)
 
3. สิ่งที่เป็นตำหนิรอยชนที่เห็นได้ชัด
 
3.1 ตำหนิ เช่น กระจกแตก สีลอก มีรอยเจาะที่ตัวถังของรถ ฯลฯ
 
3.2 รอยชน รอยบุบ รถมีรอยถูกชนบริเวณใด มากน้อยเพียงใด มีรอยบุบที่ใด
 
3.3 จุดเด่น เป็นรถที่แต่งเพื่อใช้แข่งขัน มีเสาอากาศ ติดอุปกรณ์พิเศษต่างๆ กับรถ
 
ฯลฯ
 
3.4 สติกเกอร์ ฟิล์มติดสติกเกอร์ บริเวณใด เป็นรูปหรือเครื่องหมาย หรือข้อความใด
 
มีติดฟิล์มกรองแสงมาก-น้อยที่ใด อย่างไร
 
3.5 แผ่นป้าย ที่ติดกับกระจกด้านหน้า ได้แก่ แผ่นป้ายวงกลม แสดงการเสียภาษี
 
แผ่นป้าย ผ่านเข้า-ออก ของสถานที่ต่างๆ บางครั้ง ระบุชื่อไว้ที่ แผ่นป้าย ถ้าเห็น
 
ให้จดจำไว้ด้วย แผ่นป้าย แสดงสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การจอดรถ การประกันภัย ฯลฯ
 
การสังเกตยานพาหนะรถยนต์และรถจักรยานยนต์
 
รถยนต์หมายเลขทะเบียนรถ ตำแหน่งที่ติด ประเภทรถเก่า รถกระบะ รถบรรทุก สีรถ
 
สติกเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อรถ และรุ่น ตำแหน่งป้ายวงกลม ป้ายผ่านเข้า-ออก
 
สถานที่ส่วนบุคคล ตำแหน่งเสาวิทยุ โทรทัศน์ ชนิดไฟท้าย รูปลักษณะสิ่ง ประดับ
 
เช่น แขวนหน้ารถ ข้างหน้ารถ
 
จักรยานยนต์เลขทะเบียน ตำแหน่งที่ติด ประเภท วิบาก ผู้หญิง สีรถ
 
สติกเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อ รุ่น ไฟท้าย บังโคลน ท่อไอเสีย แบบและเสียง

3.6 เสียงของเครื่องยนต์ แตร จดจำว่าเสียงอย่างไร รถบางประเภท เสียงเครื่องยนต์ 
เสียงแตร เฉพาะตัว เสียงรถแข่ง รถปกติ รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ ย่อมแตกต่างกัน
 
บางครั้ง ได้ยินเสียง ยานพาหนะ ก็อาจสันนิฐานได้ว่า เป็นยานพาหนะอะไร ซี่งต้อง
 
อาศัย ความชำนาญ พอสมควร


ทั้งหมดที่ได้ แนะนำมานี้ เป็นเพียงแนวทาง ในการที่ท่าน จะใช้ในการสังเกต จดจำ
 
ตำหนิ รูปพรรณ ของบุคคล ลักษณะของ ยานพาหนะ ที่ต้องสงสัย
 
การที่ท่าน จะจดจำได้ดีนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ท่านมีความสนใจ และมีการฝึกฝน
 
ในการจดจำ ตามแนวทาง มากน้อยเพียงใด วิธีการฝึกจดจำนั้น ไม่ใช่ของยาก
 
ท่านอาจฝึกฝน จดจำ บุคคลที่เดินผ่านไปมา หรือยานพาหนะ ที่ผ่านไปมา แล้วลองบันทึก
 
สิ่งที่ท่านจำได้ แล้วนำไป ตรวจสอบกับ บุคคล ยานพาหนะ จริง
อย่างไรก็ตาม ข้อสำคัญ ของการสังเกต จดจำ จะเป็นประโยชน์ ต่อการ สืบสวนของ 
ตำรวจ ก็คือข้อมูล ที่แม่นยำ ใกล้เคียงกับ ความเป็นจริง มากที่สุด
ดังนั้น หากท่าน ไม่แน่ใจ ในข้อมูลใดๆ ก็ไม่ควรใช้ วิธีเดา หรือคิดเอาเอง 
เพราะ ถ้าให้ข้อมูล เหล่านี้กับ ตำรวจแล้ว อาจทำให้ เกิดการไขว้เขว สับสน
 

แก่การปฎิบัติงานของ ตำรวจ อย่างแน่นอน




                กระบวนการคิด หมายถึง ระบบการคิดสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม ที่มี
องค์ประกอบสำคัญได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านตนเอง ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม และด้าน
หลักวิชาการ ประกอบกับการใช้เหตุผลอย่างถูกต้องเหมาะสม และตัดสินใจอย่างมีเป้า
หมายที่ดีในแต่ละประสถานการณ์ของชีวิต ตามบทบาทหน้าที่ของตน ซึ่งกระบวนการคิด
 
สามารถดำเนินการตามลำดับขั้น ดังนี้
          - การวิเคราะห์ใคร่ครวญสาเหตุ ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาทุกปัญหา
          - การรวบรวมผสมผสานข้อมูล ทั้งด้านตนเอง ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และ
ด้านหลักวิชาการ แล้วจัดทางเลือกเพื่อช่วยในการติดสินใจเลือกใช้
           - การตัดสินใจ เลือกแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีเป้าหมายที่ดี
                - การสรุปและประเมินผลการปฏิบัติ เพื่อวางแผนและพัฒนาต่อไป
                กระบวนการพัฒนาการคิดเป็นการคิดสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเอง ให้มีชีวิตที่มี
คุณภาพ ร่วมพัฒนาสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน ถ้าบุคคลมีการคิดที่เป็นระบบดัง 5 ขั้นตอนที่
กล่าวมาแล้ว จะทำให้สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และเป็น
พฤติกรรมที่ยั่งยืนอีกด้วย ทั้งนี้เพราะคิดเป็นหรือมีกระบวนการคิดที่ดี
2.2 ทักษะชีวิต
                ทักษะชีวิต หมายถึง คุณลักษณะหรือความสามารถเชิงสังคมจิตวิทยา และเป็น
ความสามารถทางสติปัญญาที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ในการเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาขึ้นได้ด้วยการฝึกและกระทำซ้ำๆ
 
ให้เกิดความเคยชินจนเป็นลักษณะนิสัยที่ดี ประกอบด้วยทักษะต่างๆ คือ การรู้จักตนเอง
 
การเข้าใจตนเอง และการเห็นคุณค่าของตนเอง การรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิด
สร้างสรรค์ การรู้จักตัดสินใจและแก้ไขปัญหา การรู้จักแสวงหา และใช้ข้อมูล ความรู้ การ
สื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น การจัดการกับอารมณ์และความเครียด การปรับตัว
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง การตั้งเป้าหมายชีวิตและสุขภาพ การวางแผนและดำเนินการ
ตามแผน ความเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคม  และซาบซึ้งในสิ่งที่ดีงามรอบตัวเอง
 

ถ้าบุคคลมีทักษะชีวิตซึ่งมีมากมายดังกล่าว บุคคลนั้นจะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี และมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
 2.3 การคาดคะเน 
                การคาดคะเน คือ การคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคาดคะเนแล้ว
ว่าจะเป็นการเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเสีย เช่น เพื่อนชาย
ชวนไปเที่ยว ซึ่งต้องค้างคืนกันสองต่อสอง คาดคะเนแล้วว่าคงไม่ปลอดภัยก็ไม่ควรไป
 
การโดยสารเรือโดยสารที่มีผู้โดยสารไปจนเกินอัตรา คาดคะเนแล้วว่าเรืออาจล่มได้ก็ไม่
ควรไป ไปเล่นน้ำที่ชายทะเลมีพายุเข้า และทางผู้รับผิดชอบประกาศให้ขึ้นจากการเล่นน้ำ
ทะเล คาดคะเนแล้วว่าถ้าเล่นต่อไปอาจถูกคลื่นยักษ์พัดพาจมน้ำทะเลได้ ก็ควรปฏิบัติตาม
                ถ้าบุคคลมีการคาดคะเนที่ดีก็จะเป็นการป้องกัน และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อ
ความปลอดภัยของชีวิตตนเอง
 2.4 การต่อรอง
                การต่อรอง คือ การเจรจาเพื่อให้สถานการณ์ที่คับขันดีขึ้น หรือการเจรจาเพื่อ
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยง ซึ่งการต่อรองนี้เป็นศิลปะของแต่ละบุคคล และควรจะมีการ
ฝึกเพื่อให้เกิดทักษะการต่อรอง ที่คุ้นเคยกันก็คือ เมื่อมีคนเมายาบ้า คนที่เครียดจัดหรือโจร
ผู้ร้าย มีการจี้ตัวประกัน ทางเจ้าหน้าที่ก็จะใช้วิธีการเจรจาต่อรอง อาจผ่อนหนักเป็นเบาได้
 
หรือยืดเวลาออกไป เพื่อให้สถานการณ์ที่เสี่ยงนั้นลดลง หรือแม้แต่เป็นคู่รักกัน แล้วฝ่าย
ชายพยายามขอมีอะไรกับฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงก็อาจจะใช้วิธีการต่อรอง เพื่อเอาตัวรอด
 
หรือหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่เสี่ยงนั้นได้
       บุคคลที่มีทักษะในการต่อรองที่ดี จะสามารถป้องกัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อ
ความปลอดภัย หรือเป็นการผ่อนหนักเป็นเบาได้
2.5 การปฏิเสธ
        การปฏิเสธ หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Just Say No” เป็นทักษะสำคัญในการ
เอาตัวรอด หรือหลีกเลี่ยงต่อสิ่งเลวร้ายที่จะเข้ามาในชีวิตของตนเอง ทักษะการปฏิเสธนี้
สามารถใช้ได้กับทุกเรื่องที่พบในชีวิตประจำวัน คือ การปฏิเสธใช้ยาเสพติด การปฏิเสธที่จะ
เล่นการพนัน การปฏิเสธที่จะไปเที่ยวหญิงบริการ การปฏิเสธที่จะไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง
ต่อการมีเพศสัมพันธ์ และการปฏิเสธที่จะมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น ที่ยังไม่มีความพร้อมทาง
สังคมและเศรษฐกิจ คนดีจะต้องปฏิเสธต่อการถูกชักชวนไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่
เหมาะสม ทักษะการปฏิเสธนั้น เป็นศิลปะที่จะต้องมีการฝึกการปฏิเสธมีหลายระดับ ตั้งแต่
ระดับที่นุ่มนวลไปจนถึงขึ้นเด็ดขาด ซึ่งจะปฏิเสธระดับใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
เช่น ความรุนแรงที่จะต้องปฏิเสธตัวผู้ชักชวน ลักษณะของการชักชวน เรื่องที่ชักชวน
 
เป็นต้น
          บุคคลที่มีทักษะการปฏิเสธที่ดีจะสามารถป้องกัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อ
สุขภาพ และความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี



การแจ้งความที่สถานีตำรว

ตัวอย่าง รูปพรรณของคนร้าย
ตัวอย่าง รูปพรรณของคนร้าย